วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


รายงานชิ้นที่ 2 


ให้นักเรียนค้นคว้าในเรื่องต่อไปนี้ แล้วตอบลงในบล็อกของนักเรียน

1. กฎหมาย คืออะไร?
    คำจำกัดความของ กฎหมาย หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ
2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?
           1.ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้้มีอำนาจในรัฐ (รัฐาธิปัติย์)
          2.ต้องเป็นข้อบังคับใช้บังคับพลเมือง (บังคับสมาชิกของสังคมนั้นๆ)
          3.ต้องบังคับทั่วไป คือ บังคับกับคนทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักร
          4.ต้องมีโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ความสำคัญ
1.กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่สังคมและประเทศชาติ
          2.การบริหารราชการแผ่นดิน และ การปกครองบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
          3.สังคมจะสงบสุขเมื่อทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย
          4.กฎหมายสร้างความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์
          5.กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญเพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม

4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
เกณฑ์การแบ่งประเภทของกฎหมาย
           - หากใช้เกณฑ์แบ่งโดยใช้แหล่งกำเนิด แบ่งได้ 2 ประเภท
             +กฎหมายภายใน
             +กฎหมายภายนอก
  นอกจากนี้กฎหมายภายในสามารถแบ่งออกได้อีกโดยมีเกณฑ์สำคัญได้แก่
       เนื้อหา >>> กฎหมายลายลักษณ์อักษร
                   >>> กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์
  สภาพบังคับ >>> กฎหมายอาญา
                      >>> กฎหมายแพ่ง 
   ลักษณะการใช้ >>> กฎหมายสารบัญญัติ
                              >>> กฎหมายวิธีสบัญญัติ
ฐานะและความสัมพันธ์  >>> กฎหมายมหาชน
                   รัฐ/ปปช.             >>> กฎหมายเอกชน

นอกจากนี้กฎหมายภายนอกได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศ
     - แบ่งตามลักษณะของฐานะและความสัมพันธ์  เช่น
                 1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง (รัฐ : รัฐ)
                 2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (บุคคล : รัฐ)
                 3.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา (ระหว่างรัฐ : ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติปราบปรามอาชญากรรมส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน)

5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
          1.รัฐธรรมนูญ
         2.พระราชบัญญัติ  ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระบรมราชโองการ
         3.พระราชกฤษฎีกา
         4.กฎกระทรวง
         5.เทศบัญญัติ

6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
  เป็นระบบที่สืบทอดมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการ บัญญัติกฎหมาย ดังนั้นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ก็คือกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจมีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น
ระบบคอมมอนลอร์เป็นระบบกฎหมายที่พัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษตั้งแต่อดีตกาล ซึ่งในสมัยนั้นการใช้กฎหมายในประเทศอังกฤษได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมันเพียงเล็กน้อย โดยกฎหมายที่ใช้บังคับก็คือ กฎหมายจารีตประเพณีของท้องถิ่นต่าง ๆ ของกลุ่มชนเป็นจำนวนมากที่มีภูมิลิเนาอยู่เขตพื้นที่ประเทศอังกฤษกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปและมีจารีตประเพณี กฎเกณฑ์กำหนดวิถีชีวิตของสมาชิกในกลุ่มของตน ทำให้จารีตประเพณีมีลักษณะที่หลากหลายและขาดเอกภาพ จนกระทั่งมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทราชย์ภายใต้การปกครองของ “กษัตริย์” ที่มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด มีการจัดระบบการปกครองเสียใหม่ ในรูปการครองที่ดิน อันเป็นการเสริมให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเหนือศักดินาอื่นๆ เเละได้ตั้งตัวแทนของกษัตริย์ในลักษณะของศาลที่เดินทางไปตัดสินคดีในท้องถิ่นต่าง ๆ เรียกว่า “ศาลหลวง” ( Royal Corut ) วิธีการพิจารณาวินิจฉัยของศาลหลวงนั้นมี 2 วิธี
8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
   2 ระบบ ได้แก่
                คือ  1.ระบบCommon Law (ระบบกฎหมายจารีตประเพณี) คือ ระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

                       2.ระบบCivil  Law คือ ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร

9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ประเทศไทย ใช้ระบบกฎหมายCivil law หรือเรียกว่าระบบประมวลกฎหมาย หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร 
10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
     องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 

     1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น

    2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ

   3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก

   4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ